วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์  (software)


   ซอฟต์แวร์ หมายถึง  การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะนำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป้นชุดโปรแกรมหลายๆดปรแกรมให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เราไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้างได้  จัดเก็บ  และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น  แผ่น  บันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น


หน้าที่ของซอฟต์แวร์


  ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย  ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่ๆ คือ   ซอฟแวร์ระบบ  (system  software)
ซอฟต์แวร์ประยุกย์  (appication  software)  และ  ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ



1.ซอฟแวร์ระบบ  (system  software)
 
ซอฟแวร์ระบบ  (system  software)  เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการระบบ  หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวรืระบบ  คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ  นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์  จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำสำรอง


   ซอฟแวร์ระบบ  (system  software)  หรือโปรแกรมที่รู้จักกันดีคือ  Dos, windows, unix, linux  รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง  เช่า  ภาษา  basic, fortran, pascal, coboi, c  เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น  norton's  uilities  ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน


หน้าที่ของซอฟแวร์ระบบ  (system  software)

1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น  รับรู้การกดแป้นพิมพ์ต่างๆบนแผงแป้นอักขระ  ส่งรหัสตัวอัการออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่ออุปกรณ์รับเข้าแล้วส่งออกอื่นๆเช่น  เมาส์  ลำโพง เป็นต้น

2.ใชในการจัดการหน่วยความจำเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก  หรือในทำนองกลับกัน  คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  เช่น  การขอดูรายการในสาระบบ  (directory)  ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

      ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐาน ที่เห็นทั่วไป  แบ่งออกเป็น  ระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา


ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น  2  ประเภทคือ

1.ระบบปฏิบัติการ   (operratting  system ; os)

2.ตัวแปลภาษา


1.ระบบปฏิบัติการ   (operratting  system ; os) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้มนการดูแลระบบคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักดีเช่น  ดอส  วินโดว์  ยูนิกส์  ลีนุกซ์  และแมคอินทอช  เป็นต้น

   1.1  ดอส  (disk  operrating  system ; dos)   เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว  การใช้งานจึงใช้คำสั่ง  ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต  ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
  
   1.2 วินโดว์  (windows)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส  โดยให้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นพิมพ์อักขระเพียงอย่างเดียว  นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ยังสามรถทำงานหลายงานพร้อมกันได้  ดดยแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ   การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก  ผู้ใช้สามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ  ทำให้คอมพิวเตอร์ได้ง่าย  ระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน


    1.3 ยูนิกส์  (unix)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด  (open  system)   ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน  ยูนิกส์ยังถูกออกบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า  ระบบหลายผู้ใช้  (muitiusers)  ระบบปฏิบัติการยูนิกส์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน

   1.4  ลีนุกซ์  (linux)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกส์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่าย
โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกส์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน  เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว  (gnu)  และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือระบบของลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี  (free ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

     ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์สามารถทำงานได้บน ซีพียู  หลายตระกูล เช่น  อินเทล  (pc  intel)            ดิจิตอล  (digital  alpha  computer)   และ ซันสปาร์ค  (sun sparc)  ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดว์บนพีซีได้หมดก็ตาม  แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใว้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น


  1.5  แมคอินทอช  (macintosh)   เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  แมคอินทอช  ส่วนมาก  นำไปใช้งานด้านกราฟิก  ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร  นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย  เช่น  ระบบปฎิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เพื่อให้คอมพิวเตอร์  ทำงานร่วมกันเป็นระบบ  เช่น  ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์  นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา


ชนิดของระบบปฏิบัติการ  จำแนกตามการใช้งานสามมารถจำแนกได้เป็น  3  ชนิด  ด้วยกันคือ

1.ประเภทใช้งานเดียว ( single-tasking )  ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น  ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์  เช่น ระบบปฏิบัติการดอส      เป็นต้น
 2. ประเภทใช้หลายงาน   (multi- taking)  ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน  ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน  เช่น  ระบบปฏิบัติการ  windows 98  ขึ้นไป และ  unix  เป็นต้น

3.ประเภทใช้งานหลายคน   (multi user)  ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งที่มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน  แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์  จึงต้องใรบบปฎิบัติการที่มีความสามารถสูง  เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา  เช่น  ระบบปฏิบัติการ  windows nt  และ  unix  เป็นต้น




2.ตัวแปลภาษา

การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาเครือง

ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย  เข้าใจได้  และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา
ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่  basic,pascal,c  และภาษาโลก  เป็นต้น
นอกจากนี้  ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่  fortran,cobol,และภาษาอาร์พีจี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น